ไขน้ำมันปาล์มเป็น ไม่เป็นอันตราย
ความจริงแล้ว “ไขมัน” ไม่ได้อันตรายอย่างใครคิด เพราะไขมันให้พลังงาน ช่วยร่างกายดูดซึมวิตามิน A D E และ K ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อ ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ทำให้ผิวชุ่มชื้นไม่แห้งกร้าน และน้ำมันทุกชนิดก็สามารถเกิดไขได้เหมือนกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวในน้ำมันชนิดนั้น
น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวอยู่มาก เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เมื่ออยู่ในอุณหภูมิต่ำก็จะจับตัวเป็นไขได้ง่าย เกิดไขได้เร็ว ส่วนน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันฝ้าย เกิดไขได้ช้ากว่า เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าน้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันปาล์ม เมื่ออยู่ในอุณหภูมิต่ำก็จะจับตัวเป็นไขได้ง่าย
นำน้ำมันที่เป็นไขมาไว้ที่อุณหภูมิปกติ หรือนำไปประกอบอาหารที่ใช้ความร้อน ไขก็จะแปรสภาพกลับเป็นของเหลวเหมือนเดิม
การเป็นไขของน้ำมันเป็นลักษณะทางกายภาพเท่านั้น อย่างไรก็ตาม น้ำมันถั่วเหลืองก็สามารถเป็นไขได้ถ้าแช่เย็นถึง -8 องศาเซลเซียส เมื่อนำน้ำมันที่เป็นไขมาไว้ที่อุณหภูมิปกติ (อุณหภูมิห้อง) หรือนำไปประกอบอาหารที่ใช้ความร้อน ลักษณะที่เป็นไขก็จะแปรสภาพกลับเป็นของเหลวเหมือนเดิม ซึ่งในการบริโภคน้ำมันนั้น เมื่อน้ำมันเข้าสู่ร่างกายที่มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 36.4 – 37.0 องศาเซลเซียส น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันเชิงซ้อนต่ำ เช่น น้ำมันปาล์มโอเลอิน จึงไม่เป็นไขในร่างกาย เพราะอุณหภูมิเกิดไขของน้ำมันปาล์มต้องต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส และน้ำมันมะพร้าว ประมาณ 24 องศาเซลเซียส
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า “ไขน้ำมัน คือ โคเลสเตอรอล”
จากงานวิจัยพบว่าน้ำมันพืช ก็มีโคเลสเตอรอล เพราะมันเป็นส่วนประกอบของเมมเบรน (membrane) แต่มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับน้ำมันจากสัตว์ที่มีถึง 5 ก/กก. หรือมากกว่า อาทิ น้ำมันงา มีพียง 1 มก./กก. น้ำมันมะกอกมี 0.5-2 มก./กก. น้ำมันมะพร้าวมี 14 มก./กก. น้ำมันเมล็ดทานตะวันมี 14 มก./กก. น้ำมันปาล์มมี 16 มก./กก. น้ำมันถั่วลิงมี 24 มก./กก. น้ำมันถั่วเหลืองมี 29 มก./กก. น้ำมันเมล็ดฝ้ายมี 45 มก./กก. น้ำมันคาโนลา มี 53มก./กก. และน้ำมันข้าวโพดมี 55 มก./กก.
ดังนั้น ตามข้อกำหนดของ FDA ปริมาณโคเลสเตอรอลที่น้อยกว่า 2 มก. /1 ครั้งการบริโภค หรือประมาณ 15 มล. อาจเขียนฉลากให้เป็นศูนย์ได้ น้ำมันพืชทุกชนิดจึงไม่มีโคเลสเตอรอล ซึ่งก็หมายความว่า น้ำมันพืชที่อยู่ในที่เย็นแล้วเป็นไขนั้น ไขของน้ำมันจึงไม่เกี่ยวข้องกับโคเลสเตอรอลเลย และวิธีการเก็บน้ำมันพืชที่ถูกต้อง ก็เพียงแค่เก็บในที่แห้ง ในอุณหภูมิปกติไม่โดนแสงแดดและความร้อน ไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น ก็เพียงพอคะ
แหล่งข้อมูล:
กลุ่มรณรงค์เพื่อคนไทยรู้จริง เรื่องน้ำมันปาล์ม www.facebook.com/YesPalmOil
ช่อลัดดา เที่ยงพุก บริโภคน้ำมันพืชไม่ต้องห่วงคอเลสเตอรอล สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : http://www.yes-palmoil.com/index.php/palm-pages/palm-oil-content
กินไขมันจากน้ำมันปาล์มทำให้เกิดคอเลสเตอรอลสูงจริงหรือ : http://www.cpi-th.com/th/product_faq.php
อคิน ธรากร น้ำมันปาล์มสำคัญที่บริโภค Khrua Magazine ฉบับที่ 261 มีนาคม 2559
Credit Photo : www.chaoprayanews.com
กลุ่มปาล์มธรรมชาติ
ผู้บุกเบิกสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับตลาดน้ำมันปาล์มของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ที่มุ่งมั่นยกระดับตลาดน้ำมันปาล์มในประเทศด้วยการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงการรักษาสมดุลธรรมชาติให้กับโลก ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและคงคุณค่าทางโภชนาการจากธรรมชาติสูงสุดให้กับลูกค้าทั้งกลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป
HEALTH
- เรื่องต้องรู้…คาร์โบไฮเดรตชนิดดีและไม่ดี
- อาหารสุขภาพผิว
- อาหารแนวย้อนยุคแบบผึ้ง
- กินอาหารก่อนออกกำลังกาย ดีหรือไม่
- อาหารช่วยผิวขาว กระจ่างใส มีสุขภาพดี
- อาหารต้านฝนที่คนภูมิต้านทานต่ำ ควรทาน
- 6 อาหารต้านหวัด ช่วงหน้าฝน
- 10 กิจกรรมแก้เบื่อช่วงโควิด
- งานอดิเรกสำหรับหน้าฝน ที่ทุกคนทำได้
- วิธีดูแลสุขภาพ เตรียมเข้าหน้าฝน
- ถ้าโควิดจบแล้ว เราจะทำอะไรดี
- 3 สร้าง 2 ใช้ ดูแลสุขภาพจิตช่วงโควิด-19
- Covid-19 ไม่ทนความร้อน! WHO แนะนำกินอาหารปรุงสุกลดความเสี่ยง
- ผ่านวิกฤตโควิด ด้วยกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
- อยู่บ้านสู้โควิด ควรทำอะไรบ้าง
- ภาวะโลกร้อนกับอาหารที่กิน
- ออกกำลังกายอยู่บ้านง่าย ๆ ไม่ต้องเข้าฟิตเนส
- Keto diet เทรนด์อาหารลดคาร์บเพื่อลดหุ่น
- การล้างมือให้ถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงติดไวรัสโคโรนา
- โซนการเต้นของหัวใจ กับการออกกำลังกาย
- อาการที่บอกว่า ออกกำลังกายไม่ได้ผล
- รู้แบบนี้แล้ว ออกกำลังกายดีกว่า
- อาหารต้านโรคช่วงหน้าฝน
- มุมมองโรคฮิตหน้าฝน จากแพทย์แผนไทย
- เมนูอาหารหน้าฝน คนภูมิต้านทานต่ำควรทาน
- ความแตกต่างระหว่างคาร์โบไฮเดรต ชนิดดีและไม่ดี
- ไดเอทอย่างไร เรียก “คาร์บต่ำ ไขมันสูง”
- เร่งเมตาบอลิซึมในร่างกาย… แบบง่าย ๆ
- สมุนไพร…ต้านอนุมูลอิสระ
- เทรนด์อาหาร 2019 สายกินต้องตามให้ทัน
- สุดยอดสมุนไพรจีน ที่ควรหามาทาน
- เคล็ดลับแพทย์แผนไทยโบราณ กินตามธาตุเพื่อร่างกายแข็งแรง
- วิธีเลือกซื้ออาหารริมถนนให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนฝุ่นพิษ
- เพราะอะไรน้ำมันปาล์มจึงเหมาะกับอาหารทอด ส่งต่อสุขภาพดีคู่ครัวยาวนานกว่า 12 ปี กับน้ำมันพืชตราผึ้ง
- ไขรหัส…ทำไมคนเราถึงปลื้มของทอดได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น
- คืนคริสมาสต์ แต่ละประเทศเขาทำอาหารอะไรกันบ้างนะ
- 5 สไตล์การจัดเลี้ยง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับปาร์ตี้
- 4 เทคนิค รีโนเวทห้องครัว แบบง่าย ๆ สบายกระเป๋า
- 7 เทรนด์อาหารมาแรงแห่งปี 2018
- ปาล์มน้ำมันประโยชน์ที่มากกว่าการผลิตน้ำมัน
- สารพัดพร็อพเก๋ ๆ จากใบปาล์ม
- มิถุนายนนี้ อย. ห้ามใช้ไขมันทรานส์
- “กรดไลโนเลอิก” กรดไขมันที่ดีต่อใจ
- “น้ำมันปาล์ม” ไม่มีคอเลสเตอรอลนะจ๊ะ
- ในน้ำมันปาล์มมีอะไรบ้าง
- “น้ำมันปาล์ม” เกิดสารโพล่าร์น้อยสุด
- “น้ำมันปาล์ม” ปลอดไขมันทรานส์
- วิธีเลือกซื้อ เลือกใช้ “น้ำมันพืช” อย่างถูกต้อง
- “น้ำมันปาล์ม” ทางเลือกเพื่อสุขภาพ
- เบาหวาน…จัดการได้
- เรื่องง่าย ๆ เรื่องของเมนูไข่
- ไอเดียเจ๋ง!! ข้าวมันไก่ลดโลกร้อนห่อใบตองแทนกล่องโฟม
- ไขน้ำมันปาล์มเป็น ไม่เป็นอันตราย
- มองแบบวิทย์ พลิกชีวิตการกินอยู่
- 10 ปลาไทยราคาบ้าน ๆ โอเมก้า 3 สูงไม่แพ้แซลมอน
- สารโพลาร์คืออะไร? ทำไมคนรักสุขภาพถึงต้องระวัง
- น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการ หรือ Processed vegetable oil คือ
- น้ำมันปาล์มไม่มีคอเลสเตอรอล …เรื่องจริงที่ต้องรู้ไว้
- ไขมันทรานส์…ภัยร้ายซ่อนรูป
- ทำไมต้องน้ำมันปาล์มตรา “ผึ้ง”
You must be logged in to post a comment.