เคล็ดลับแพทย์แผนไทยโบราณ กินตามธาตุเพื่อร่างกายแข็งแรง
ตามหลักสุขภาพตามแผนไทยโบราณนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารชนิดใดก็ตาม แม้แต่ต้ม ผัด แกง ทอด ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาปรุงซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ธาตุใหญ่ ๆ ก็คือ ธาตุร้อนและธาตุเย็น ทั้งสองอย่างนี้ส่งผลต่อความสมดุลของร่างกาย และสามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้ด้วย จะเป็นอย่างไรนั้น ผึ้งมีความรู้ดี ๆ มาแนะนำค่ะ
การจะรู้ว่าร่างกายเราตอนนี้เป็นแบบใดนั้น ไม่ยากเลย เพียงแค่สังเกตอาการและความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่กินอาหารเข้าไป ว่า อาหารที่กินเข้าไปนั้นทำปฏิกิริยาให้ร่างกายร้อนขึ้นหรือเย็นลงแค่ไหน หรือมีอาการผิดปกติอะไรบ้างที่ทำให้ป่วยบ่อย เมื่อเรามีอาการของธาตุใดที่มากเกนไป ก็ควรรับประทานอาหารในหมวดธาตุตรงข้ามให้มากขึ้นหน่อย เพื่อให้ร่างกายสมดุลนั่นเอง
ร้อนเกิน
ท้องผูก ปัสสาวะปริมาณน้อย สีเข้ม ออกร้อนท้องแสบท้อง รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก ร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ เจ็บปลายลิ้น เจ็บคอ เสียงแหบ ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้ง มีแผลต่าง ๆ ในช่องปากด้านล่าง หิวมาก หิวบ่อย ตัวร้อน มือเท้าร้อน หน้าแดง มีสิวขึ้น ครั่นเนื้อครั่นตัว มีเส้นเลือดขอดตามส่วน เป็นต้น
เย็นเกิน
ท้องอืด จุก เสียด แน่น ปัสสาวะมีปริมาณมาก อุจจาระ ท้องเสีย หน้าซีด มีตุ่มหรือแผลในช่องปากด้านบน มือเท้าเย็น ชา หนาวสั่นตามร่างกาย ตาแฉะ ตามัว เสมหะมากแต่ไม่เหนียว สีใส ริมฝีปากซีด เฉื่อยชา เคลื่อนไหวช้า มือเท้าชาและเย็น เป็นต้น
ปรับสมดุลด้วยอาหารตามธาตุ
อาหารฤทธิ์ร้อน
- กลุ่มคาร์โบไฮเดรต : ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ สาลี ข้าวบาร์เลย์ เผือก มัน กลอย อาหารหวานจัด ขนมปัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง เป็นต้น
- กลุ่มโปรตีน : เนื้อ นม ไข่ ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วทอดทุกชนิด เห็ดโคน เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดไค เห็ดขม เห็ดผึ้ง พวกโปรตีนจากพืชและสัตว์ที่หมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว มิโสะ โยเกิร์ต ซีอิ๊ว กะปิ น้ำปลา ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาเค็ม เนื้อเค็ม แหนม ไข่เค็ม เป็นต้น
- กลุ่มไขมัน : น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ กะทิ เนื้อมะพร้าว งา รำข้าว จมูกข้าว เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น
- กลุ่มผักฤทธิ์ร้อน : กระชาย กะเพรา กุยช่าย กระเทียม ขิง ข่า ขมิ้น ผักชี ยี่หร่า โหระพา พริก พริกไทย แมงลัก ไพล ตะไคร้ ใบมะกรูด เครื่องเทศ ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง กะหล่ำปลี กระเฉด ผักกาดเขียว ผักโขม ผักแขยง คะน้า แคร์รอต ชะอม บีทรูท เม็ดบัว ไหลบัว รากบัว แปะตำปึง ใบปอ ใบยอ สาหร่ายทะเล สาหร่ายน้ำจืด ยอดเสาวรส หน่อไม้ เป็นต้น
- กลุ่มผลไม้ฤทธิ์ร้อน : กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ กระเจี๊ยบแดง เสาวรส ขนุนสุก เงาะ ฝรั่ง ทุเรียน ทับทิมแดง น้อยหน่า มะตูม มะเฟือง มะไฟ มะแงว มะปราง มะม่วงสุก มะขามสุก มะละกอสุก ระกำ ลิ้นจี่ ลำไย ลองกอง ละมุด ลูกยอ สละ ส้มเขียวหวาน องุ่น เป็นต้น
อาหารฤทธิ์เย็น
- กลุ่มคาร์โบไฮเดรต : น้ำตาล ข้าวขาว เส้นขาว วุ้นเส้น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้องเหลือง เป็นต้น
- กลุ่มโปรตีน : ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ลูกเดือย เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดลม เห็ดตาโล่ เห็ดตีนตุ๊กแก เป็นต้น
- กลุ่มผักฤทธิ์เย็น : กะหล่ำดอก กวางตุ้ง ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดขาว ผักกาดหอม หยวกกล้วย ปลีกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ หัวไชเท้า ข้าวโพด ขนุนดิบ ดอกขจร ใบเตย ผักติ้ว ตังโอ๋ ตำลึง ถั่วงอก บัวบก สายบัว ผักบุ้ง บรอกโคลี บวบ ปวยเล้ง ผักปลัง ฟักทองอ่อน ยอดหรือดอกฟักทอง ยอดฟักข้าว ยอดฟักแม้ว ฟัก แฟง แตงต่าง ๆ เป็นต้น
- กลุ่มผลไม้ฤทธิ์เย็น : กล้วยน้ำว้าห่าม กล้วยหักมุก แก้วมังกร กระท้อน แคนตาลูป ชมพู่ เชอรี่ แตงโม แตงไทย ทับทิมขาว ลูกท้อ มังคุด มะยม มะขวิด มะดัน มะม่วงดิบ มะละกอดิบ มะขามดิบ น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว สับปะรด สตรอว์เบอร์รี สาลี่ ส้มโอ ส้มเช้ง แอปเปิล เป็นต้น
เรื่องของอาหาร ถ้าเลือกได้อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามหลักโภชนาการ ก็สามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง ไม่ป่วยง่าย ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดีทีเดียวค่ะ ดังนั้นถ้าใครรู้สึกว่าร่างกายไม่ค่อยสมดุล มีอาการคล้ายธาตุร้อนเกิน หรือธาตุเย็นเกิน ก็ลองนำหลักการอาหารตามธาตุไปปรับใช้กันดูนะคะ
น้ำมันพืชตราผึ้ง ปลอดไขมันทรานส์
“ผึ้ง” กรอบอร่อยได้คุณค่า แบรนด์ของคนรุ่นใหม่
Cooking By Bee
ข้อมูลจาก ถอดรหัสสุขภาพ เล่ม 2, Kapook
กลุ่มปาล์มธรรมชาติ
ผู้บุกเบิกสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับตลาดน้ำมันปาล์มของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ที่มุ่งมั่นยกระดับตลาดน้ำมันปาล์มในประเทศด้วยการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงการรักษาสมดุลธรรมชาติให้กับโลก ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและคงคุณค่าทางโภชนาการจากธรรมชาติสูงสุดให้กับลูกค้าทั้งกลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป
HEALTH
- เรื่องต้องรู้…คาร์โบไฮเดรตชนิดดีและไม่ดี
- อาหารสุขภาพผิว
- อาหารแนวย้อนยุคแบบผึ้ง
- กินอาหารก่อนออกกำลังกาย ดีหรือไม่
- อาหารช่วยผิวขาว กระจ่างใส มีสุขภาพดี
- อาหารต้านฝนที่คนภูมิต้านทานต่ำ ควรทาน
- 6 อาหารต้านหวัด ช่วงหน้าฝน
- 10 กิจกรรมแก้เบื่อช่วงโควิด
- งานอดิเรกสำหรับหน้าฝน ที่ทุกคนทำได้
- วิธีดูแลสุขภาพ เตรียมเข้าหน้าฝน
- ถ้าโควิดจบแล้ว เราจะทำอะไรดี
- 3 สร้าง 2 ใช้ ดูแลสุขภาพจิตช่วงโควิด-19
- Covid-19 ไม่ทนความร้อน! WHO แนะนำกินอาหารปรุงสุกลดความเสี่ยง
- ผ่านวิกฤตโควิด ด้วยกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
- อยู่บ้านสู้โควิด ควรทำอะไรบ้าง
- ภาวะโลกร้อนกับอาหารที่กิน
- ออกกำลังกายอยู่บ้านง่าย ๆ ไม่ต้องเข้าฟิตเนส
- Keto diet เทรนด์อาหารลดคาร์บเพื่อลดหุ่น
- การล้างมือให้ถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงติดไวรัสโคโรนา
- โซนการเต้นของหัวใจ กับการออกกำลังกาย
- อาการที่บอกว่า ออกกำลังกายไม่ได้ผล
- รู้แบบนี้แล้ว ออกกำลังกายดีกว่า
- อาหารต้านโรคช่วงหน้าฝน
- มุมมองโรคฮิตหน้าฝน จากแพทย์แผนไทย
- เมนูอาหารหน้าฝน คนภูมิต้านทานต่ำควรทาน
- ความแตกต่างระหว่างคาร์โบไฮเดรต ชนิดดีและไม่ดี
- ไดเอทอย่างไร เรียก “คาร์บต่ำ ไขมันสูง”
- เร่งเมตาบอลิซึมในร่างกาย… แบบง่าย ๆ
- สมุนไพร…ต้านอนุมูลอิสระ
- เทรนด์อาหาร 2019 สายกินต้องตามให้ทัน
- สุดยอดสมุนไพรจีน ที่ควรหามาทาน
- เคล็ดลับแพทย์แผนไทยโบราณ กินตามธาตุเพื่อร่างกายแข็งแรง
- วิธีเลือกซื้ออาหารริมถนนให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนฝุ่นพิษ
- เพราะอะไรน้ำมันปาล์มจึงเหมาะกับอาหารทอด ส่งต่อสุขภาพดีคู่ครัวยาวนานกว่า 12 ปี กับน้ำมันพืชตราผึ้ง
- ไขรหัส…ทำไมคนเราถึงปลื้มของทอดได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น
- คืนคริสมาสต์ แต่ละประเทศเขาทำอาหารอะไรกันบ้างนะ
- 5 สไตล์การจัดเลี้ยง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับปาร์ตี้
- 4 เทคนิค รีโนเวทห้องครัว แบบง่าย ๆ สบายกระเป๋า
- 7 เทรนด์อาหารมาแรงแห่งปี 2018
- ปาล์มน้ำมันประโยชน์ที่มากกว่าการผลิตน้ำมัน
- สารพัดพร็อพเก๋ ๆ จากใบปาล์ม
- มิถุนายนนี้ อย. ห้ามใช้ไขมันทรานส์
- “กรดไลโนเลอิก” กรดไขมันที่ดีต่อใจ
- “น้ำมันปาล์ม” ไม่มีคอเลสเตอรอลนะจ๊ะ
- ในน้ำมันปาล์มมีอะไรบ้าง
- “น้ำมันปาล์ม” เกิดสารโพล่าร์น้อยสุด
- “น้ำมันปาล์ม” ปลอดไขมันทรานส์
- วิธีเลือกซื้อ เลือกใช้ “น้ำมันพืช” อย่างถูกต้อง
- “น้ำมันปาล์ม” ทางเลือกเพื่อสุขภาพ
- เบาหวาน…จัดการได้
- เรื่องง่าย ๆ เรื่องของเมนูไข่
- ไอเดียเจ๋ง!! ข้าวมันไก่ลดโลกร้อนห่อใบตองแทนกล่องโฟม
- ไขน้ำมันปาล์มเป็น ไม่เป็นอันตราย
- มองแบบวิทย์ พลิกชีวิตการกินอยู่
- 10 ปลาไทยราคาบ้าน ๆ โอเมก้า 3 สูงไม่แพ้แซลมอน
- สารโพลาร์คืออะไร? ทำไมคนรักสุขภาพถึงต้องระวัง
- น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการ หรือ Processed vegetable oil คือ
- น้ำมันปาล์มไม่มีคอเลสเตอรอล …เรื่องจริงที่ต้องรู้ไว้
- ไขมันทรานส์…ภัยร้ายซ่อนรูป
- ทำไมต้องน้ำมันปาล์มตรา “ผึ้ง”
You must be logged in to post a comment.