ไขน้ำมันปาล์มเป็น ไม่เป็นอันตราย
ความจริงแล้ว “ไขมัน” ไม่ได้อันตรายอย่างใครคิด เพราะไขมันให้พลังงาน ช่วยร่างกายดูดซึมวิตามิน A D E และ K ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อ ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ทำให้ผิวชุ่มชื้นไม่แห้งกร้าน และน้ำมันทุกชนิดก็สามารถเกิดไขได้เหมือนกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวในน้ำมันชนิดนั้น
น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวอยู่มาก เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เมื่ออยู่ในอุณหภูมิต่ำก็จะจับตัวเป็นไขได้ง่าย เกิดไขได้เร็ว ส่วนน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันฝ้าย เกิดไขได้ช้ากว่า เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าน้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันปาล์ม เมื่ออยู่ในอุณหภูมิต่ำก็จะจับตัวเป็นไขได้ง่าย
นำน้ำมันที่เป็นไขมาไว้ที่อุณหภูมิปกติ หรือนำไปประกอบอาหารที่ใช้ความร้อน ไขก็จะแปรสภาพกลับเป็นของเหลวเหมือนเดิม
การเป็นไขของน้ำมันเป็นลักษณะทางกายภาพเท่านั้น อย่างไรก็ตาม น้ำมันถั่วเหลืองก็สามารถเป็นไขได้ถ้าแช่เย็นถึง -8 องศาเซลเซียส เมื่อนำน้ำมันที่เป็นไขมาไว้ที่อุณหภูมิปกติ (อุณหภูมิห้อง) หรือนำไปประกอบอาหารที่ใช้ความร้อน ลักษณะที่เป็นไขก็จะแปรสภาพกลับเป็นของเหลวเหมือนเดิม ซึ่งในการบริโภคน้ำมันนั้น เมื่อน้ำมันเข้าสู่ร่างกายที่มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 36.4 – 37.0 องศาเซลเซียส น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันเชิงซ้อนต่ำ เช่น น้ำมันปาล์มโอเลอิน จึงไม่เป็นไขในร่างกาย เพราะอุณหภูมิเกิดไขของน้ำมันปาล์มต้องต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส และน้ำมันมะพร้าว ประมาณ 24 องศาเซลเซียส
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า “ไขน้ำมัน คือ โคเลสเตอรอล”
จากงานวิจัยพบว่าน้ำมันพืช ก็มีโคเลสเตอรอล เพราะมันเป็นส่วนประกอบของเมมเบรน (membrane) แต่มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับน้ำมันจากสัตว์ที่มีถึง 5 ก/กก. หรือมากกว่า อาทิ น้ำมันงา มีพียง 1 มก./กก. น้ำมันมะกอกมี 0.5-2 มก./กก. น้ำมันมะพร้าวมี 14 มก./กก. น้ำมันเมล็ดทานตะวันมี 14 มก./กก. น้ำมันปาล์มมี 16 มก./กก. น้ำมันถั่วลิงมี 24 มก./กก. น้ำมันถั่วเหลืองมี 29 มก./กก. น้ำมันเมล็ดฝ้ายมี 45 มก./กก. น้ำมันคาโนลา มี 53มก./กก. และน้ำมันข้าวโพดมี 55 มก./กก.
ดังนั้น ตามข้อกำหนดของ FDA ปริมาณโคเลสเตอรอลที่น้อยกว่า 2 มก. /1 ครั้งการบริโภค หรือประมาณ 15 มล. อาจเขียนฉลากให้เป็นศูนย์ได้ น้ำมันพืชทุกชนิดจึงไม่มีโคเลสเตอรอล ซึ่งก็หมายความว่า น้ำมันพืชที่อยู่ในที่เย็นแล้วเป็นไขนั้น ไขของน้ำมันจึงไม่เกี่ยวข้องกับโคเลสเตอรอลเลย และวิธีการเก็บน้ำมันพืชที่ถูกต้อง ก็เพียงแค่เก็บในที่แห้ง ในอุณหภูมิปกติไม่โดนแสงแดดและความร้อน ไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น ก็เพียงพอคะ
แหล่งข้อมูล:
กลุ่มรณรงค์เพื่อคนไทยรู้จริง เรื่องน้ำมันปาล์ม www.facebook.com/YesPalmOil
ช่อลัดดา เที่ยงพุก บริโภคน้ำมันพืชไม่ต้องห่วงคอเลสเตอรอล สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : http://www.yes-palmoil.com/index.php/palm-pages/palm-oil-content
กินไขมันจากน้ำมันปาล์มทำให้เกิดคอเลสเตอรอลสูงจริงหรือ : http://www.cpi-th.com/th/product_faq.php
อคิน ธรากร น้ำมันปาล์มสำคัญที่บริโภค Khrua Magazine ฉบับที่ 261 มีนาคม 2559
Credit Photo : www.chaoprayanews.com