วัดเล่งเน่ยยี่ 2 แก้ชงต้อนรับปีใหม่
วัดและการร่วมบุญ ดูเหมือนจะมีความเชื่อมโยงและสายสัมพันธ์ของผู้คนเกือบทุกเชื้อชาติ การทำบุญเข้าวัดได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของบางคนไปเสียแล้ว จากรุ่นสู่รุ่นตามกาลเวลาที่ผ่านมาและผ่านไป คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ว่า “วัด” คือสัญลักษณ์ของความดีที่แฝงด้วยความเชื่อและศรัทธา
ในสมัยอดีตกาล “วัด” เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชุมชนและ “วัด” บางแห่งยังเป็นโรงเรียนให้กับเด็กๆ ในชุมชนนั้นๆ อีกด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้คนทำไมถึงผูกพันธ์กับ “วัด” มาตั้งแต่ไหนแต่ไร คราวนี้เรามาพูดถึงกิจกรรมทางศาสนาของวัดในยุคนี้กันบ้าง “การไหว้พระ” อาจเป็นเรื่องปกติที่สืบสานและทำกันมาอย่างต่อเนื่อง แต่การปฎิบัติในเรื่องของ “การแก้ชง” นั้น ปัจจุบันนี้ได้เกิดขึ้นและทำกันในวัดบางแห่งกันแล้ว และที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในเรื่องนี้ที่ “วัดเล่งเน่ยยี่” หรือ “วัดมังกร” นั่นเอง ในแต่ละปีผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติต่างเดินทางมาร่วมแก้ชงในวัดแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง
วัดเล่วหน่ยยี่ 2 เป็นสาขาของวัดเล่งเน่ยยี่ที่เยาวราช สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในพ.ศ. 2539 โดยสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกได้เสด็จเป็นองค์ประธานวางศิลาฤกษ์ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ทรงมีพระราชานุญาตให้สร้างวัด และพระราชทานนามว่าวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์และใช้เวลาในการสร้างกว่า 12 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์
การก่อสร้างวัดแห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบพุทธศิลป์ในราชวงค์หมิงและชิง คล้ายกับพระราชวังต้องห้ามที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ด้วยความประณีตและความละเอียดอ่อนแห่งสถาปัตยกรรม ที่เรารู้มาทางวัดได้เชิญช่างฝีมือชั้นครูจากประเทศจีนมาดำเนินการก่อสร้างโดยตรง ภายในวัดเป็นสถาปัตยกรรมจีนขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วยพระอุโบสถ วิหาร พำนักสงฆ์ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดแห่งนี้ยังมีชื่อเสียงในเรื่องของการแก้ชงตามความเชื่อโหราศาสตร์จีนที่คนส่วนมากมักจะมาทำบุญกับที่นี้ และสำหรับปีชงใน พ.ศ. 2567 ที่กำลังจะมาถึงนี้ก็มี ปีชง 100% เป็นปีที่มีผลกระทบมากที่สุดคือปีนักษัตร ปีชงร่วมเป็นปีที่มีผลกระทบน้อยคือปีนักษัตร มะโรง ฉลู และมะแม เป็นต้น
ปีชงเป็นความเชื่อทางโหราศาสตร์จีน ที่เชื่อว่าชะตาชีวิตของคนขึ้นอยู่กับ “เทพไท้ส่วยเอี๊ย” และหากในปีนั้นเทพไท้ส่วยเอี๊ยเคลื่อนทับดวงดาวของปีนักษัตรใด ก็แปลว่าเป็นปีชงของนักษัตรนั้น ซึ่งส่งผลให้ปีนักษัตรนั้นได้รับผลกระทบได้ด้วย
ปีชงมาจากภาษาจีน คำว่า “ชง” หมายถึง “การปะทะ” ดังนั้นคำว่า “ปีชง” จึงหมายถึงปีที่อาจมีการปะทะเกิดขึ้น ซึ่งความเชื่อเรื่องปีชงนี้เกี่ยวข้องกับ “องค์เทพไท้ส่วย” หรือที่รู้จักกันดีในนาม “องค์เทพไท้ส่วย” หรือที่รู้จักกันดีในนาม “เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา” เป็นเทพที่ทรงอิทธิฤทธิ์ และยังมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในแต่ละปีอีกด้วย ส่วนคำว่า “ไท้ส่วย” ในภาษาจีนโบราณหมายถึง เทพผู้คุ้มครองดวงชะตาของแต่ละปีซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับดาวพฤหัสบดีอีกด้วย ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวศุภเคราะห์ในความเชื่อทางโหราศาสตร์ของไท หมายถึงคุณธรรม ความดี โชคลาภ ทรัพย์สิน ดังนั้นจึงเชื่อว่าหากดาวพฤหัสดีไม่มีหรือปีนักษัตรใดปะทะหรือได้รับผลร้ายจากเทพไท้ส่วย จะทำให้ปีนั้นจะเป็นปีที่ได้รับผลไม่ดีหรือที่เราเรียกว่า “ปีชง”
หากในปีนั้นเทพไท้ส่วยเอี๊ยเคลื่อนทับดวงดาวของปีนักษัตรใด ก็แปลว่าเป็นปีชงของนักษัตรนั้น ซึ่งส่งผลให้ปีนักษัตรนั้นได้รับผลกระทบไปด้วย หากเปรียบเทียบง่ายๆ ปีชงคล้ายๆ กับช่วง “ดวงตก” ของเรานั่นเอง
อย่างไรก็ตามการมากราบไหว้องค์ไท้ส่วยเอี๊ยเพื่อเป็นการฝากดวงชะตาแล้ว คนที่ไม่ได้อยู่ในปีชงก็สามารถมากราบไหว้เทพองค์นั้นๆ เช่นกัน จะช่วยเสริมให้ดวงที่ดีอยู่แล้วกลับยิ่งดีขึ้นไปอีก จะช่วยเสริมให้มีโชคลาภ มีความเจริญรุ่งเรืองในเรื่องต่างๆ อย่างไรก็ตามในเรื่องของการแก้ชงนั้นเป็นความเชื่อส่วนบุคคล หากท่านใดมีความเชื่อก็สามารถเดินทางไปไหว้แก้ชงตามสถานที่ต่างๆ ที่เขาจัดไว้ให้ ไม่ว่าจะเป็นวั หรือศาลเจ้าที่ได้รับความนิยม
“น้ำมันปาล์มตราผึ้ง” โดยกลุ่มปาล์มธรรมชาติ ขอร่วมส่งเสริมเพื่อสืบสานคุณค่าแห่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของการ “กินดี อยู่ดี สุขภาพดี” ของคนไทยมาอย่างต่อเนื่อง